2014-08-04

เรื่องที่เพิ่งรู้ : การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด ( ที่ถูกวิธี ) Part 2

 ต่อจาก Part 1 

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด ( ฉบับลบล้าง ความเชื่อผิด ๆ ) Part 1

http://66mynameis99.blogspot.com/2014/08/part-1-snake.html
 







เอาล่ะครับ มาเข้าเรื่องการปฐมพยาบาลกันเลยดีกว่า แต่สิ่งแรกที่ทุกคนต้องจำกันให้ขึ้นใจเลยก็คือ!

“การปฐมพยาบาล”   เป็นแค่การประคับประคองผู้ป่วยก่อนส่งเข้าโรงพยาบาล เท่านั้นนะครับ มัน “ไม่ใช่การรักษา” ซึ่งสำหรับการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด เป้าหมายก็คือการ “ชะลอการดูดซึมพิษ” เพื่อซื้อเวลาให้ผู้ป่วยสามารถไปโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีครับ





และสิ่งที่ต้องบอกอีกอย่างก่อนก็คือ นี่เป็นแค่วิธีคร่าวๆเท่านั้นนะครับ การปฐมพยาบาลเป็นอะไรที่ต้องฝึก และการถูกงูกัดยังป็นอะไรที่ซับซ้อนกว่านี้อีก ตามสถานการณ์



ซึ่งผมเองก็เรียนรู้วิธีมาจ
ากโครงการอบรมและฝึกปฏิบัติจับงู ของสถานเสาวภาครับ ทุกๆท่านเองก็สามารถเรียนรู้ได้นะครับ ติดตามโครงการได้ในเพจนี้นะครับ >>> https://www.facebook.com/pages/Snake-Farm-QSMI/1423989014485516?ref=ts&fref=ts

---------------------------------------

แต่เพื่อไม่ให้เสียเวลาอ่าน เราจะมาเข้าสู่ขั้นตอนกันเลยครับ

1. ตั้งสติ รู้ว่าอะไรควรไม่ควร


สำคัญมากครับ พูดง่ายแต่ทำยาก แต่พึงระลึกไว้เสมอครับ เมื่อเราแตกตื่น อะไรๆก็จะไม่เป็นไปตามที่เราคิด ตั้งสมาธิให้ดี นึกให้ดีว่าเราร็อะไรบ้าง อะไรควรทำ อะไรเราทำเป็น อะไรทำให้เสี่ยง และรีบลงมือครับ การปฐมพยาบาลงูพิษกัด คือการแข่งกับเวลา

2. จำแนกงู (ถ้าทำได้จะดีกว่า มาก)

แน่นอน มีผลต่อทั้งการรักษาและการปฐมพยาบาลครับ แต่ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ต้องทำนะครับ แพทย์พอวินิจฉัยจากอาการและการกระจายตัวของงูบริเวณนั้นได้ครับ

3. ดูอาการ ไม่ใช่รอยเขี้ยว (ในกรณีที่จำแนกงูไม่ได้)

การจะรู้ได้ว่าเป็นงูพิษหรือไม่นั้น แค่รอยกัด ไม่สามารถบอกได้เสมอ ว่าเป็นงูพิษหรือไม่ งูที่กัดเราล้วนพุ่งเข้าหาเราในลีลาต่างๆทั้งอ้าปากกัดเฉี่ยวกระชากลากถู จนรอยกัดอาจจะเป็นแค่ขีดยาวๆเละๆด้วยซ้ำครับ นอกจากนี้งูพิษยังมี “ฟัน” ที่กรามล่างอยู่เช่นกันนะครับ เพราะฉะนั้นรอยกัดไม่ได้บอกเราเสมอไป

สิ่งที่สำคัญคือ “อาการ” หลังจากถูกกัดครับ อาการปวดของงูพิษกัดจะ “ไม่เหมือนกับของมีคมบาด” ครับ เวลาถูกของมีคมบาดมันจะปวดตุ้บๆ หนักๆ จากแรงกดแรงกระแทก

แต่ถ้าหากเป็นงูพิษกัด จะเป็นอาการ “ปวดร้อน” เหมือนถูกไฟหรือน้ำร้อนลวก และทรมานกว่าอย่างชัดเจนครั
(ยกเว้นในกรณีของงูตระกูลงูสามเหลี่ยม (Genus Bungarus) ที่อาจไม่มีอาการเหล่านี้)

4. หยุดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และถอดเครื่องประดับและเสื้อผ้าที่รัดแน่นออก

การเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนที่ถูกกัด จะทำให้การดูดซึมพิษไปได้รวดเร็วขึ้นและอันตรายขึ้น

และในกรณีที่ถูกงูพิษทำลายระบบเลือดกัด แผลอาจบวม(มาก) และถูกกดทับโดยเครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่รัดแน่น จนทำให้อวัยวะนั้น “ตาย” เพราะขาดเลือดได้ครับ (***ห้าม ขันชะเนาะ เด็ดขาด เพราะอวัยวะจะขาดเลือดตายเช่นกัน***)





http://www.66bag99.com








5. ใช้ผ้ายืด หรือผ้าที่มีความยืดหยุ่นพอ พันให้กระชับทั้งอวัยวะ (**ข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้าหากเป็นงูพิษทำลายระบบเลือด เช่น งูเขียวหางไหม้ งูกะปะ งูแมวเซา (Family Viperidae)**)

ผ้าที่ใช้ควรมีความกว้าง 10-15 เซนติเมตร (4นิ้ว) มีความยืดหยุ่น และยาวพอที่จะพันทั้งอวัยวะ (โดนกัดมือ ก็พันตั้งแต่มือขึ้นไปยันรักแร้เลยจะดีมากครับ) ทำการพันให้กระชับพอประมาณ ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป (เอานิ้วสอดลงใต้ผ้าที่พันได้ และไม่รู้สึกตุ้บๆที่แขน) โดยเริ่มจากส่วนปลายก่อน เช่น จากมือไล่ขึ้นมาถึงรักแร้


ทั้งหมดนี้เพื่อชะลอการดูดซึมของพิษงูที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทครับ 

ส่วนระบบเลือดนั้นดูดซึมช้ากว่า แต่ในขณะเดียวกันก็จะบวมกว่า ถ้าหากมีการมัดหรือกดทับจะเป็นอันตรายครับ ซึ่งถ้าหากเราไม่รู้ว่างูที่กัดมีพิษแบบไหนก็ พันไปก่อนครับ งูในประเทศไทยที่มีพิษแรงขนาดจะเสี่ยงต่อการตัดอวัยวะก็มีแค่งูกะปะครับ

(แต่ถ้าขันชะเนาะ งูไม่มีพิษกัดก็อาจจะต้องตัดอวัยวะนะครับ เพราะฉะนั้น !!ห้ามขันชะเนาะ!! เด็ดขาด)

6. ดามอวัยวะที่ถูกกัดด้วยของแ
ข็ง

ไม้ ท่อแป๊ป ของแข็งๆยาวๆที่พอจะดามให้ข้อต่อบริเวณที่ถูกกัดให้ไม่งอไปมาได้สามารถใช้ได้หมดนะครับ ทั้งนี้เราดามเพื่อลดการเคลื่อนไหวที่เป็นไปได้ และพยายามประคองให้อวัยวะขนานไปกับพื้น อย่าให้ห้อยต่องแต่งหรือยกขึ้นสูงครับ

7. พาไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

การปฐมพยาบาลแค่ชะลอ แต่ไม่สามารถทำลายพิษงูได้ เพราะฉะนั้นเมื่อทำทุกอย่างเรียบร้อยแล้วให้รีบหาทางไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะไปเอง หรือโทรขอความช่วยเหลือก็ตา
----------------------------------------

แน่นอนว่าหลายๆคนอ่านมาถึงตรงนี้อาจคิดว่า จะไปทำได้ทำเป็นมั้ยวะ? ผมก็ตอบเลยครับว่ามันยาก และเป็นการประคับประคองเท่านั้น แต่สรุปคร่าวๆ ก็คือ

1.อย่าทำอะไรที่ไม่ควรทำ (อ่าน Part 1)
2.ลดการเคลื่อนไหวให้ได้มากที่สุด
3.พาไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
----------------------------------

คงมีหลายๆคนถามว่าแล้วถ้าถูกกัด คนเดียวทำยังไง? ถูกกัดกลางป่าทำยังไง? ผมตอบตามตรงครับ ขึ้นอยู่กับพิษงูและเวลา ถ้ามันกลางป่าจริงๆ ไม่มีสัญญาณ ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้ ใช้เวลาเดินทางนาน ความเป็นจริงตรงหน้าก็คือทางตันครับ การปฐมพยาบาลได้เพียงแค่ “ชะลอ” แต่ไม่สามารถหยุดพิษงูได้ครับ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลี่ยงที่จะถูกกัดแต่แรกดีกว่า สวมรองเท้าที่มิดชิดเมื่อเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง ไม่เข้าไปตีงูเมื่อเจอ แค่นั้นก็ลดความน่าจะเป็นได้เยอะครับ

 





"น้องงู" ที่พบได้ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล  

ใน ช่วงหน้าฝนนี้มีประชาชนโทรเข้ามา ส่งอีเมล ส่งข้อความใน inbox หรือเดินทางมาซักถามด้วยตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องงู กับทางสวนงู สถานเสาวภา กันมาก รวมกับที่มีข่าวจากสื่อต่างๆ รายงานว่าในช่วงนี้พบงูบ่อยมากขึ้น ว่าเเล้ว...ทางสวนงูก็เลยขออาสามาเเนะนำน้องงูชนิดต่างๆ ที่เรามีโอกาสพบได้ในเขตกรุงเทพฯเเละปริมณฑล ให้ทุกคนได้รู้จักกัน โดยเเบ่งเป็นกลุ่มๆ คือ

1. งูพิษเขี้ยวหน้า คือ งูพิษที่มีเขี้ยวพิษอยู่ทางด้านหน้าของขากรรไกรบน มักเป็นงูพิษที่มีพิษร้ายแรง สามารถแบ่งได้เป็นงูพิษที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ระบบเลือด และกล้ามเนื้อ

2. งูพิษเขี้ยวหลัง คือ งูพิษที่มีเขี้ยวพิษอยู่ด้านในของขากรรไกรบน มักเป็นงูที่มีพิษไม่ร้ายแรง ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการปวด ยกเว้นเฉพาะ งูลายสาบคอเเดง ที่มีรายงานว่ามีพิษค่อนข้างร้ายเเรง

3. งูไม่มีพิษ คือ งูที่ไม่มีเขี้ยวพิษ แต่ยังคงมีฟันที่แหลมคมเป็นจำนวนมาก บางครั้งสามารถทำให้เกิดบาดแผลที่มีเลือดออกมากได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ถ้าใครไปเจอน้องงูโดยบังเอิญ ไม่ว่าจะมีพิษหรือไม่มีพิษก็ตาม ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปจับหรือทำร้ายพวกเขาเลย ถ้ากลัวหรืออยากให้น้องงูออกจากบ้าน ก็หาไม้ยาวๆ(เมตรหนึ่งขึ้นไป)มาไล่เค้าไป(ในกรณีที่เป็นงูที่ไม่มีพิษ) หรือไม่ก็โทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญในการจับ งู(ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ)ให้เขามาช่วยจับงูให้จะดีกว่า เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและน้องงู

ปล. เวลาเจอน้องงูก็อย่าตื่นตระหนกตกใจกันมากจนเกินไป ขอให้ทุกคนตั้งสติเอาไว้ก่อน เพื่อจะได้รับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง สุดท้ายนี้ ก็อย่าลืมว่า "เราสามารถเรียนรู้ที่จะอยู่กับน้องงูได้อย่างปลอดภัย" นะ











ขอบคุณข้อมูลดี ๆ  จาก  :  https://www.facebook.com/pagetanbabasnake ,  https://www.facebook.com/pages/Snake-Farm-QSMI/1423989014485516?sk=timeline

No comments:

Post a Comment